Sandbox ราชพิพัฒน์ Model

1242 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Sandbox ราชพิพัฒน์ Model

Sandbox ราชพิพัฒน์ Model เกิดขึ้นด้วยผู้ว่าราชการกรุงทพมหานครมีนโยบาย

9 ด้าน 9 ดี ในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จึงดำเนินการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพแบบนำร่องโดยบูรณาการความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย สำนักงานเขตพื้นที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพ สถานพยาบาลเอกชน และเครือข่ายภาคประชาชนในเขตพื้นที่  โครงการต่างๆประกอบด้วย

1. พัฒนา Excellent center เวชศาสตร์เขตเมือง ควบคู่การดูแลคนเมือง โดยพัฒนาระบบบริการสาขาต่างๆให้ประชาชนได้รับบริการต่างๆทั่วถึงและเข้าถึงง่ายมากขึ้น เช่น Service plan โรคเบาหวาน ,โรคหลอดเลือดสมอง ,โรคไต เป็นต้น

2. เปิดศูนย์เวชศาสตร์เขตเมืองราชพิพัฒน์เพื่อการฟื้นฟูและดูแลผู้ป่วยประคับประคอง เป็นแห่งแรกของกทม. และสร้างความเข้มแข็งระดับชุมชน โดยเปิด Community IMC บ้านผู้สูงวัยหรืศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพชุมชน กทม. จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุชุมชน เพื่อสร้างระบบดูแลผู้สูงอายุในชุมชนอย่างเข้มแข็ง เปิดโครงการ Pre-school บ้านเด็กเล็ก กทม. เพิ่มขึ้น และ โครงการนักสืบฝุ่นโดยติดตั้งเครื่องวัด PM2.5 ไว้ในชุมชนทั้ง 5 เขต ติดตามหาสาเหตุของฝุ่นเพื่อป้องกันแก้ไข เป็นต้น  

3. เปิดศูนย์สนับสนุนเวชศาสตร์เขตเมือง หรือศูนย์สนับสนุนบริการคนเมือง สร้างบริการให้ระบบปฐมภูมิเข้มแข็งโดยใช้หลัก Hi-touch และ Hi-tech ประกอบด้วย ระบบเทคโนโลยี และระบบบริการขนส่งสาธารณสุข

โครงการที่ใช้ระบบเทคโนโลยี ประกอบด้วย

3.1 Urban medicine support center ประชาชนสามารถปรึกษาปัญหาสุขภาพ 24 ชั่วโมงผ่านระบบโทรศัพท์ VDO call center โดย Scan QR code ใน Facebook โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ 

3.2 Telemedicine ประชาชนสามารถปรึกษา รักษากับแพทย์ผ่านระบบรักษาทางไกล และใช้ระบบส่งยาไปที่บ้านหรือรับยาร้านยาที่ขึ้นทะเบียนกับสปสช.ในอนาคต 

3.3 Telemedicine consult ระบบปรึกษาการรักษาระหว่างพยาบาลและ

แพทย์ที่คลินิกอบอุ่น ศูนย์บริการสาธารณสุข และโรงพยาบาลเหมือนทำให้คนไข้ได้รับการรักษากับแพทย์เฉพาะทางมากขึ้น และลดการส่งต่อการที่ผู้ป่วยต้องเดินทางมาโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น

3.4 Urban medicine home care ระบบเยี่ยมบ้านและฝากร่างกาย Online

เพื่อให้แพทย์พยาบาลที่คลินิกอบอุ่น ศูนย์บริการสาธารณสุข และโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ได้ติดตามอาการคนไข้หลังการรักษาร่วมกัน และถ้าผู้ป่วยพบปัญหาสามารถโทรปรึกษาเจ้าหน้าที่ได้ 24 ชั่วโมง  ลดการส่งต่อการที่ผู้ป่วยต้องเดินทางมาโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น

โครงการที่ใช้ระบบเทคโนโลยีร่วมกับระบบบริการขนส่งสาธารณสุข

3.5 รถ Telemedicine-Ambulance รับการประสานงานจากศูนย์เอราวัณและเพิ่มช่องทางการติดต่อฉุกเฉินให้ประชาชน เพิ่มอุปกรณ์ที่ทันสมัยให้แพทย์รักษาผู้ป่วยได้ถึงที่เกิดเหตุและบนรถฉุกเฉิน

3.6 รถ Motor lance หน่ายเคลื่อนที่เร็วเพื่อประเมินปฐมพยาบาลและกู้ชีวิตรักษาทันทีที่เกิดเหตุ เข้าถึงชุมชนได้ง่ายรวดเร็วมากขึ้นโดยเฉาพะชุนชนที่รถฉุกเฉินเข้าถึงยากและการจราจรติดขัด

3.7 รถ Commu-lance เหมือนศูนย์บริการสาธารณสุขเคลื่อนที่ เจ้าหน้าที่และรถสามารถเข้าไปบริการผุ้ป่วยถึงชุมชนด้วยอุปกรณืที่ทันสมัย สามารถเจาะเลือด ตรวจร่างกาย เอ็กซเรย์และปรึกษาแพทย์ได้ด้วยระบบเทคโนโลยี และใช้ระบบส่งยาไปที่บ้านหรือรับยาร้านยาที่ขึ้นทะเบียนกับสปสช.ในอนาคต 

โครงการที่ใช้ระบบบริการขนส่งสาธารณสุข

3.8 รถรับส่งผู้สูงอายุและผู้พิการ  

3.9 รถโดยสาร ชุมชน-โรงพยาบาล

 การพัฒนา Sandbox ราชพิพัฒน์ Model จักส่งผลให้ระบบบริการปฐมภูมิมีความเข้มแข็ง เข้าถึงได้ง่ายและทั่วถึงถึงระดับเส้นเลือดฝอย ลดความเหลื่อมล้ำและรอยต่อโดยใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการปฏิบัติงาน และเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนเมืองให้เป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคน

(26 ส.ค.65) เวลา 08.00 น. : นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานในพิธีเปิด “ราชพิพัฒน์ Sandbox Model” และติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานของโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ โดยมี ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แพทย์หญิงวันทนีย์ วัฒนะ รองปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสำนักการแพทย์ สำนักอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุขพื้นที่ สำนักงานเขตบางแค ทวีวัฒนา หนองแขม ตลิ่งชัน ภาษีเจริญ ผู้แทนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมพิธี ณ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ เขตบางแค

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้