772 จำนวนผู้เข้าชม |
กรุงเทพมหานครได้ดําเนินงานด้านการจัดบริการแบบครบวงจรสําหรับเด็กและสตรีมาอย่างต่อเนื่อง ผลการดําเนินงานที่ผ่านมา พบจํานวนผู้ถูกกระทําความรุนแรงต่อเด็ก สตรีและบุคคลในครอบครัวเพิ่มสูงขึ้น ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2564 – 2566 เท่ากับ 956 ราย ,1,082 ราย และ 1,645 ราย ตามลําดับ กรุงเทพมหานครได้เล็งเห็นความสําคัญของปัญหาและผลกระทบดังกล่าว
การประชุมการขยายเครือข่ายและการจัดระบบบริการแบบครบวงจร (One stop crisis center) สําหรับเด็กและสตรีที่ได้รับความรุนแรง จัดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อช่วยเหลือเด็ก สตรีและครอบครัว ที่ถูกกระทํารุนแรง แบบองค์รวมอย่างมีคุณภาพ
2.เพื่อพัฒนาเครือข่ายด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวด้านสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร
3.เพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านความรุนแรงของเด็ก สตรี และครอบครัว ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพัฒนาสังคม และมนุษย์ บุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร ศูนย์บริการสาธารณสุข สํานักงานเขต สํานักพัฒนาสังคม สํานักการศึกษา ตํารวจ อัยการ ฝ่ายกฎหมาย ตุลาการ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม ภาคีเครือข่ายภาคเอกชน มูลนิธิ องค์กรสาธารณประโยชน์
การขยายเครือข่ายบริการแบบครบวงจรสําหรับเด็กและสตรีที่ได้รับความรุนแรง เป็นการพัฒนาระบบบริการด้านสาธารณสุข และบูรณาการความร่วมมือระหว่างบุคลากรภาครัฐ ตํารวจ อัยการ ตุลาการ เครือข่ายภาคเอกชน มุ่งเน้นการแก้ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคม ตอบสนองความ
ต้องการของภาคประชาชน ได้แก่ เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ บุคคลในครอบครัว โดยใช้พลังของเครือข่ายทั้งภาคประชาชนและหน่วยงานภาครัฐต่างสังกัด เกิดการรับฟังปัญหาจากภาคประชาชน และพัฒนาระบบบริการ แก้ไขปัญหาได้อย่างต่อเนื่อง สามารถยุติความรุนแรงในสังคม