1748 จำนวนผู้เข้าชม |
ปัจจุบันกรุงเทพมหานครได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ จากรายงานสถิติประชากรพบว่ามีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 20 และส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเปราะบาง ที่มีภาวะพึ่งพิงและต้องการการดูแลแบบประคับประคอง และเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน การพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาการดูแลแบบประคับประคอง ซึ่งเป้าหมายหลักของการดูแลแบบประคับประคอง คือการบรรเทาความทุกข์ทรมาณของผู้ป่วย ที่เกิดจากโรคหรือผลข้างเคียงจากการรักษา ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านประกอบด้วย ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านจิตวิญญาณ โดยมีครอบครัวเป็นศูนย์กลาง ภายใต้การมีส่วนร่วม ในการดูแลของสหสาขาวิชาชีพ เพื่อให้ผู้ป่วยมีความสุขสบายในระยะสุดท้ายของชีวิตและจากไปอย่างมีความสุขรวมถึงการดูแลครอบครัวของผู้ป่วยในการเตรียมความพร้อมการติดตามดูแลหลังสูญเสีย เพื่อให้เกิดความเข้าใจยอมรับและกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้
ระบบการดูแลแบบประคับประคองถูกกำหนดให้อยู่ในแผนกลยุทธ์การขับเคลื่อนเขตสุขภาพกรุงเทพมหานคร (Bangkok Health Zoning) ประเด็นนโยบายพัฒนาระบบบริการสุขภาพโซนพื้นที่ไร้รอยต่อ ระบบเยี่ยมบ้าน แบบไร้รอยต่อ โรงพยาบาล 10,000 เตียง ผ่าน BMA Home Ward หรือ UMSC และศูนย์เวชศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและการดูแลแบบประคับประคอง 4 มุมเมือง และสอดคล้องต่อนโยบายกระทรวงสาธารณสุขประเด็นสถานชีวาภิบาล
การประชุมการพัฒนาเครือข่าย 250 สถานชีวาภิบาล 50 เขตกรุงเทพมหานครจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับ ความรู้ด้านวิชาการและรูปแบบระบบบริการสุขภาพ
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมทราบถึงแนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาการดูแลแบบประคับประคอง รูปแบบการจัดพื้นที่สุขภาพกรุงเทพมหานคร
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถนำแนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบบริการที่เหมาะสมตามบริบทของหน่วยงาน
โดยมีเป้าหมายหนึ่งสถานชีวภิบาลต่อหนึ่งเขตสุขภาพรวมเป็นเจ็ดสถานชีวาภิบาลใน 100 วันแรกนับจากวันประกาศนโยบาย
รวมถึงการประสานความร่วมมือ ของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยกระทรวงสาธารณสุขโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานครศูนย์บริการสาธารณสุขสำนักงานเขตสำนักพัฒนาสังคมภาคีเครือข่ายภาคเอกชนและสถานประกอบการ เกิดการพัฒนางานอย่างมีคุณภาพ เพิ่มศักยภาพการดูแลผู้สูงอายุแบบประคับประคอง สามารถเข้าถึงบริการ ได้ง่ายและทั่วถึง